10 ประโยชน์ของอ้อย
1. ลำต้นใช้กินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอ้อยควั่น หรือบีบเอาน้ำอ้อยใช้ดื่มโดยตรงหรือทำเป็นไอศกรีม ช่วยแก้กระหายน้ำ ด้วยการใช้ลำต้นมาปอก เปลือกออก นำมาเคี้ยวเนื้อที่ลำต้นเพื่อกินน้ำหวาน แล้วคายกากทิ้ง หรือคั้นทำเป็นน้ำอ้อยก็ได้ 2. ช่อดอกอ่อนที่ยังไม่บานสามารถนำมาใช้รับประทานดิบ นำมานึ่งหรือย่างรับประทานเป็นผักจิ้มได้ 3.ลำต้นที่ปล้องเมื่อบีบคั้นมาได้จะมีสหวาน สามารถนำมาเคี่ยวทำเป็นน้ำตาลอ้อยได้ ‘ โดยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนตกผลึกจะได้น้ำตาลทรายที่ใช้ สำหรับทำขนมหวานหรือปรุงรสอาหาร ทำน้ำเชื่อมกลบรสยา และช่วยเก็บถนอมอาหารได้ 4. กากน้ำตาลที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักทำเป็นเหล้ารัมได้ 5. ใบ ยอด และส่วนของลำต้นที่ยังอ่อนอยู่ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัวและควายได้โดยตรง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นให้นำมาหมักก่อนให้สัตว์กิน 6. ประโยชน์โดยตรงของอ้อยก็คือการนำเอาไปผลิตเป็นน้ำตาลทราย ลำต้นมีปริมาณซูโครสอยู่ประมาณ 17-35% จึงสามารถนำมาใช้ผลิตทำ เป็นน้ำตาลได้ ซึ่งได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลปี๊บ 7. ใบอ้อยแห้งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุสำหรับคลุมดินหรือบำรุงดินได้ โดยจะช่วยรักษาความชื้นและช่วยป้องกันวัชพืชได้ด้วย และในขณะ เดียวกันก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารของจุสินทรี่ย์ต่าง ๆ ซึ่งบ่างพวกจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้ในโตรเจนในดินเพิ่มมากขึ้นซึ่ง เป็นผลดีแก่อ้อย 8. รากและเหง้าที่อยู่ในดิน เมื่อเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็จะกลายเป็นปุยแก่ดินต่อไป […]
พันธุ์อ้อย
อ้อย มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกันที่ความสูงของต้น ความยาวของข้อต้น และสีของลำต้น โดยต้นอ้อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียหรือในประเทศปาปัวนิวกินี และประเทศที่เป็นแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญของโลกได้แก่ ประเทศบราซิล,ประเทศคิวบา,และประเทศอินเดีย ปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกันประมาณ 30 สายพันธุ์ โดยมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่ อ้อยเคี้ยว และอ้อยทำน้ำตาล อ้อยเคี้ยว คือ มีเปลือกนิ่ม ชานนิ่ม มีความหวาน ใช้บริโภคสด ที่นิยมปลูกคือ พันธุ์อ้อยสิงคโปร์ หรืออ้อยสำลี มีชานนิ่มมาก ลำต้นสีเหลืองอมเขียว เมื่อทำการหีบแล้วได้น้ำอ้อยสีสวยน่ารับประทาน อ้อยทำน้ำตาล เป็นพันธุ์อ้อยลูกผสม ที่ทานกรมวิชาการเกษตรแนะนำได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 1,2,3,4,5 และ 6 ,พันธุ์ขอนแก่น,พันธุ์ชัยนาท และพันธุ์มุกดาหาร ปัจจุบันนิยมใช้พันธุ์ K84-200 ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง พันธุ์ฟีล 6607 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพันธุ์อู่ทอง 1 ในภาคตะวันออก พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมในการปลูก 1. พันธุ์ สอน.12 (LK92-11) […]
การแข่งขันระหว่างอ้อยและวัชพืช
ในปัจจุบัน ถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตน้ำตาลส่งออกเป็นลำดับต้น ” ของโลก คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ต่อปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาในด้านผลผลิตอ้อยต่อไร่ยังถือว่าต่ำกว่าต่างประเทศมากคือผลผลิตอ้อยของประเทศไทย โดยเฉลี่ย 8-10 ตัน ขณะที่ต่างประเทศได้ผลผลิตอ้อยสูง 15-18 ตัน/ไร่ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่จำกัดการเจริญ เติบโตและผลผลิตอ้อย คือวัชพืชเพราะวัชพืชเป็นศัตรูสำคัญมากทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการแก่งแย่งธาตุอาหาร ความชื้น แสงแดด และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงหลายชนิด นอกจากนี้ ในด้านการจัดการวัชพืชของ เกษตรกรชาวไร่อ้อย ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น มักกำจัดวัชพืชเมื่อวัชพืชงอกแล้วและมีปริมาณมาก หรือหลังวัชพืชออกดอก หรือเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชไม่เหมาะสมเป็นต้นวัชพืชจะแก่งแย่งธาตุอาหาร น้ำ และแสงแดด ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของอ้อย สำหรับพื้นที่ใดก็ตาม ซึ่งมีปัจจัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตมาก เช่น ดินดี น้ำดี ก็จะมีปัญหาวัชพืชเป็นทวีคูณ เพราะวัชพืช มีศักยภาพการแข่งขันสูงกว่าอ้อยมาก อ้อยเป็นพืชปลูก ที่ต้องการช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 3 – 4 เดือนนับจากวันปลูก หากจะมีวัชพืชขึ้นเบียดเบียน บ้าง ก็ไม่เกินระยะเดือนแรกของการปลูก เนื่องจากจุดวิกฤตการแข่งขันของอ้อย จะอยู่ระยะแรก […]
การจัดการวัชพืชในไร่อ้อย
หมายถึงวิธีการจัดการลดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างอ้อยกับวัชพืชซึ่งมีหลายวิธีการเช่น การใช้สารเคมีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและการเขตกรรม วิธีการจัดการวัชพืชในไร่อ้อยจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องผสมผสานวิธีการให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากต้นทุนและผลกำไร หลักสำคัญการกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย 1.ต้องเตรียมดินดีคือจะต้องทำให้เศษวัชพืชเก่าตายให้หมด 2. ต้องให้อ้อยมีช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 4 เดือน คือต้องกำจัดวัชพืชตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเริ่มย่างปล้อง 3. อ้อยที่ปลูกต้องงอกดีและสม่ำเสมอ
การจัดการโรค และแมลงศัตรูอ้อย
การผลิตอ้อยของประเทศไทยจากภาพที่ผ่านมาในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความเปลี่ยนแปลงต่ำสุดหรือสูงสุดแบบทำลายสถิติก็เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งอาจกล่าวได้ว่าช่วง 3 ปีการผลิตหลังมานี้ มีการทำลายสถิติปริมาณอ้อยเข้าหีบกันทุกปีต่อเนื่องกระทั่งปีล่าสุด (ปีการผลิต 2557/58) ที่มีอ้อยเข้าหีบสูงถึง 104.595 ล้านตัน ซึ่งบ่งบอกถึงการประสบความสำเร็จและการก้าวข้ามขีดจำกัดบางประเด็นมาได้ ศัตรูธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์การควบคุมศัตรูอ้อยโดยชีววิธี โดยการกิน เบียดเบียนทำลายศัตรูอ้อย และทำให้ศัตรูอ้อยตายก่อนอายุขัย ถูกจัดแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. ตัวห้ำ (Predators) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินศัตรูอ้อยเป็นอาหาร มีทั้งชนิดที่เป็นแมลง เช่น แมลงหางหนีบ แมลงช้าง และที่ไม่ใช่แมลง เช่น แมงมุม ไร นก ซึ่งตัวห้ำหนึ่งตัวสามารถกินศัตรูอ้อย ได้ทีละหลาย ๆ ตัว และตลอดชีวิตของมันสามารถควบคุมแมลงศัตรูอ้อยได้จำนวนมาก ตัวห้ำจึงมี บทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณศัตรูอ้อย ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเสียหาย 2. ตัวเบียน (Parasites) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการเบียดเบียน
ส่วนของอ้อยที่ใช้เป็นยาสมุนไพร
ลำต้น เมื่อต้นอ้อยโตเต็มที่แล้ว ให้ตัดเอาส่วนที่อยู่เหนือดิน ตัดใบทิ้งใช้สดๆ ข้อต้น ให้ตัดจากต้น ใช้แบบสดๆ เปลือกต้น ให้นำเปลือกจากลำต้น แล้วนำมาตากให้แห้ง เผาเป็นเถ้าแล้วเก็บไว้ใช้ น้ำอ้อย เป็นส่วนที่ได้จากการนำลำต้นที่โตเต็มที่แล้วมาปอกเปลือกออก แล้วบีบคั้นเอาแต่น้ำมาใช้แบบสดๆ ชานอ้อย คือส่วนของกากที่เหลือจากการบีบน้ำอ้อย ส่วนนี้ให้นำมาตากแห้งแล้วเผาเป็นเถ้าเก็บไว้ใช้