EN / TH

10 ประโยชน์ของอ้อย

1. ลำต้นใช้กินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอ้อยควั่น หรือบีบเอาน้ำอ้อยใช้ดื่มโดยตรงหรือทำเป็นไอศกรีม ช่วยแก้กระหายน้ำ ด้วยการใช้ลำต้นมาปอก เปลือกออก นำมาเคี้ยวเนื้อที่ลำต้นเพื่อกินน้ำหวาน แล้วคายกากทิ้ง หรือคั้นทำเป็นน้ำอ้อยก็ได้
2. ช่อดอกอ่อนที่ยังไม่บานสามารถนำมาใช้รับประทานดิบ นำมานึ่งหรือย่างรับประทานเป็นผักจิ้มได้
3.ลำต้นที่ปล้องเมื่อบีบคั้นมาได้จะมีสหวาน สามารถนำมาเคี่ยวทำเป็นน้ำตาลอ้อยได้ ‘ โดยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนตกผลึกจะได้น้ำตาลทรายที่ใช้ สำหรับทำขนมหวานหรือปรุงรสอาหาร ทำน้ำเชื่อมกลบรสยา และช่วยเก็บถนอมอาหารได้
4. กากน้ำตาลที่แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักทำเป็นเหล้ารัมได้
5. ใบ ยอด และส่วนของลำต้นที่ยังอ่อนอยู่ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัวและควายได้โดยตรง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นให้นำมาหมักก่อนให้สัตว์กิน
6. ประโยชน์โดยตรงของอ้อยก็คือการนำเอาไปผลิตเป็นน้ำตาลทราย ลำต้นมีปริมาณซูโครสอยู่ประมาณ 17-35% จึงสามารถนำมาใช้ผลิตทำ
เป็นน้ำตาลได้ ซึ่งได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลปี๊บ
7. ใบอ้อยแห้งสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุสำหรับคลุมดินหรือบำรุงดินได้ โดยจะช่วยรักษาความชื้นและช่วยป้องกันวัชพืชได้ด้วย และในขณะ
เดียวกันก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารของจุสินทรี่ย์ต่าง ๆ ซึ่งบ่างพวกจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้ในโตรเจนในดินเพิ่มมากขึ้นซึ่ง
เป็นผลดีแก่อ้อย
8. รากและเหง้าที่อยู่ในดิน เมื่อเน่าเปื่อยผุพังแล้วก็จะกลายเป็นปุยแก่ดินต่อไป
9. ใบอ้อยแห้งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยถือเป็นแหล่งของพลังงานและเชื้อเพลิงที่สำคัญ
10. อ้อยดำหรืออ้อยแดงสามารถนำมาใช้สกัดทำเป็นสีย้อมได้ โดยจะให้สีน้ำตาล

Facebook
Twitter

Related Articles

การจัดการโรค และแมลงศัตรูอ้อย

การผลิตอ้อยของประเทศไทยจากภาพที่ผ่านมาในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความเปลี่ยนแปลงต่ำสุดหรือสูงสุดแบบทำลายสถิติก็เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งอาจกล่าวได้ว่าช่วง

Read More »

พันธุ์อ้อย

อ้อย มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกันที่ความสูงของต้น

Read More »
en_USEnglish