ในปัจจุบัน ถึงแม้ประเทศไทยจะผลิตน้ำตาลส่งออกเป็นลำดับต้น ” ของโลก คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท
ต่อปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาในด้านผลผลิตอ้อยต่อไร่ยังถือว่าต่ำกว่าต่างประเทศมากคือผลผลิตอ้อยของประเทศไทย
โดยเฉลี่ย 8-10 ตัน ขณะที่ต่างประเทศได้ผลผลิตอ้อยสูง 15-18 ตัน/ไร่ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่จำกัดการเจริญ
เติบโตและผลผลิตอ้อย คือวัชพืชเพราะวัชพืชเป็นศัตรูสำคัญมากทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการแก่งแย่งธาตุอาหาร
ความชื้น แสงแดด และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงหลายชนิด นอกจากนี้ ในด้านการจัดการวัชพืชของ
เกษตรกรชาวไร่อ้อย ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น มักกำจัดวัชพืชเมื่อวัชพืชงอกแล้วและมีปริมาณมาก
หรือหลังวัชพืชออกดอก หรือเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชไม่เหมาะสมเป็นต้นวัชพืชจะแก่งแย่งธาตุอาหาร น้ำ และแสงแดด
ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของอ้อย สำหรับพื้นที่ใดก็ตาม ซึ่งมีปัจจัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตมาก เช่น ดินดี
น้ำดี ก็จะมีปัญหาวัชพืชเป็นทวีคูณ เพราะวัชพืช มีศักยภาพการแข่งขันสูงกว่าอ้อยมาก
อ้อยเป็นพืชปลูก ที่ต้องการช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 3 – 4 เดือนนับจากวันปลูก หากจะมีวัชพืชขึ้นเบียดเบียน
บ้าง ก็ไม่เกินระยะเดือนแรกของการปลูก เนื่องจากจุดวิกฤตการแข่งขันของอ้อย จะอยู่ระยะแรก นับจากเริ่มปลูก
จนถึงระยะแตกหน่อ เพราะว่าอ้อยในช่วงนี้จะมีศักยภาพการงอกและการเจริญเติบโตต่ำกว่าวัชพืชมาก ดังนั้น หาก
มีวัชพืชเบียดเบียนมากก็จะทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตเพราะรากที่สร้างใหม่ยังไม่แข็งแรง การแตกหน่อน้อย การ
ย่างปล้องไม่เต็มที่ เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตอ้อยลดต่ำลง ผลผลิตอ้อยลดลงมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิด ความหนาแน่นและ
ช่วงเวลาในการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืช